เมนู

พรรณนาวิปิฏฐิคาถา


คาถาว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.
ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ได้เป็นผู้ได้จตุตถ-
ฌาน. แม้พระราชานั้น เพื่อจะอนุรักษ์ฌาน ก็ทรงสละราชสมบัติออก
ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้เเจ้งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดง
ปฏิปัตติทิสัมปทาของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน แปลว่า กระทำไว้ข้าง
หลัง อธิบายว่า ทิ้ง คือละ. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความยินดี
และความไม่ยินดีทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถํ ได้แก่ สมาธิในจตุตถฌานเท่านั้น. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า
ชื่อว่า บริสุทธิ์ยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก 9 ประการ คือ
นิวรณ์ 5 และวิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจ
ทองคำอันขัดแล้ว.
ส่วนวาจารวบรวมความมีดังต่อไปนี้. กระทำสุขและทุกข์ในกาล
ก่อนเท่านี้ไว้ข้างหลัง อธิบายว่า กระทำทุกข์ไว้ข้างหลังในอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน กระทำสุขไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษรที่
กล่าวไว้เบื้องต้นกลับไปไว้เบื้องปลาย สำเร็จรูปว่า โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏฺฐิกตฺวาน ปุพฺเพว
ทำโสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ไว้ข้างหลัง ดังนี้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ทำโสมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งจตุตถ-
ฌาน และทำโทมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌาน
เหล่านั้นเป็นฐานสำหรับละโสมนัสและโทมนัสโดยอ้อม. แต่เมื่อว่าโดยตรง